การจดทะเบียนการค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

โลโก้ฮวงจุ้ย

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ตั้งกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อดำเนินการ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นด้วยการ

  1. กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมาจดทะเบียน เพื่อให้สามารถรู้ถึงการมีอยู่จริงของผู้ประกอบการว่า เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไร และนำมากำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการประกอบ ธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม และประสบผลสำเร็จมากขึ้น
  2. เปิดให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) ผ่านทางเว็บไซต์ bangkrasor.com เพื่อช่วยส่งเสริมการตลาด และจัดหาตลาดให้ผู้ประกอบการสามารถทำการซื้อขาย
    ผ่านทางเว็บไซต์ได้

ประโยชน์ของการจดทะเบียน

  1. การจดทะเบียน จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือ และผู้บริโภคมีความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมมากขึ้น
  2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ (e-Directory) นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
  3. ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ และหากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กรมฯ กำหนด ผู้ประกอบการจะได้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ และสามารถนำเครื่องหมายนี้ไปติดไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของตน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง
  4. การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้

  1. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
  2. บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
  4. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน

  1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ )
  2. สำเนาบัตรประจำตัว
    1. กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    2. กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
  3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)

กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียน

ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการ

 

ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ต้องจดทะเบียน

  1. มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ
  2. มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น
  3. มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) เช่น บริการหาคู่ บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ รับสมัครงาน เป็นต้น
  4. มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
  5. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต
  6. เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
  7. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องจดทะเบียน

  1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ….
  2. การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่อง ทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
  3. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
  4. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
  5. เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
  6. เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ
  7. ร้านอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตฯ ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาณิชย์ ปกติ (ถือเป็นพาณิชยกิจธรรมดา ในช่องทางปกติ ไม่ใช่ e-Commerce ) 
การจองชื่อนิติบุคคล

การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดหรือแม้แต่การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติ บริษัท มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ต่างก็กำหนดหัวข้อแรกของการจดทะเบียน ไว้ว่านิติบุคคลที่ขอจดทะเบียนจะต้องมีชื่อจึงจะนับได้ว่ามีการจดทะเบียน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจองชื่อนิติบุคคลมิใช่การจดทะเบียน แต่เป็นกระบวนงานหนึ่งก่อนการจดทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ให้บริการแก่ ผู้ขอจดทะเบียน อนึ่ง ชื่อที่จองไว้นี้จะใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหรือจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลก็ได้
      เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าชื่อนิติบุคคลจะต้องไม่พ้องหรือมีชื่อเรียก ขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงมี ระเบียบกำหนดว่าก่อนยื่นจดทะเบียนจะต้องขอจองชื่อก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะใช้ชื่อ

1. หลักเกณฑ์ในการจองชื่อนิติบุคคล
      1.1ชื่อนิติบุคคลต้องไม่มีคำหรือข้อความใดดังต่อไปนี้
            (1) พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต
            (2) ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง
            (3) ชื่อประเทศ กรณีใช้ชื่อประเทศเป็นส่วนหนึ่งของชื่อให้ระบุไว้ในวงเล็บต่อท้ายชื่อ
            (4) ชื่อที่อาจก่อให้เกิดสำคัญผิดว่า รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วน ท้องถิ่น หน่วยงาน หรือองค์การของรัฐทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นเจ้าของหรือ ผู้ดำเนินการ
            (5) ชื่อที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
            (6) ชื่อซึ่งมีคำว่า “บริษัทมหาชนจำกัด” “บริษัทจำกัด (มหาชน)” “บมจ” “สมาคมการค้า” หรือ “หอการค้า” หรือชื่อที่คล้ายกันหรือเรียกขานคล้ายกับคำเช่นว่านั้น
            (7) ชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจข้อมูลเครดิต กิจการประกันภัย กิจการจัดหางาน และกิจการคลังสินค้า หรือชื่อที่มีคำใดคำหนึ่งที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้และที่จะกำหนดขึ้นในภายหลังประกอบชื่อเว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบ ให้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวได้จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
           คำว่า “โรงเรียน” “สถาบัน” “วิทยาลัย”“มหาวิทยาลัย” หรือคำในภาษาต่างประเทศที่มีความหมายอย่างเดียวกัน เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบให้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวได้จาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
            (8) ชื่อที่เป็นการสลับชื่อระหว่างห้างหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนกับบริษัท หรือบริษัทกับบริษัท
            (9) ชื่อที่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกันกับชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิ หรือชื่อบริษัทที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนหรือนายทะเบียนได้รับจดทะเบียน ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดความหลงผิดได้ เว้นแต่
                  (9.1) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อแล้ว หรือ
                  (9.2) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว หรือ
                  (9.3) ชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนแล้วและปรากฏข้อความว่า ผู้เริ่มก่อการ ทุกคนตกลงให้หนังสือบริคณห์สนธิฉบับนั้นสิ้นผลและไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายในสิบปีนับแต่วันที่จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
            (10) ชื่อที่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกับชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ที่นายทะเบียนขีดชื่อ ออกจากทะเบียนแล้ว เว้นแต่จะพ้นเวลาสิบปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อ
            (11) ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่สามารถใช้เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนและบริษัทแนบท้ายระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2554
      1.2 ชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัททั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จะต้องมีคำแสดงประเภทนิติบุคคล ตามประกาศที่ออกตามความ ในพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 ชื่อภาษาต่างประเทศของห้างหุ้นส่วนบริษัทจะต้องมีคำเรียกขานหรือความหมายตรงกับชื่อภาษาไทย

2. วิธีการจองชื่อนิติบุคคลและการกรอกแบบพิมพ์
      2.1 วิธีการจองชื่อนิติบุคคลสามารถจองชื่อนิติบุคคลได้ตามวิธีการดังนี้
            (1) ทางระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยให้ลงทะเบียนได้ที่ www.dbd.go.th
            (2) ยื่นแบบจองชื่อต่อนายทะเบียน
      2.2 วิธีการกรอกแบบพิมพ์
            (1) ทางระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) ให้กรอกรายละเอียดลงในแบบที่ปรากฏ ในจอคอมพิวเตอร์
            (2) ยื่นแบบจองชื่อต่อนายทะเบียน ให้ดำเนินการ ดังนี้
               – ให้ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ แล้วแต่กรณี กรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้และเป็นผู้ลงลายมือชื่อ ในแบบจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนกำหนดขึ้น โดยนำไปยื่นด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่น (ระบุชื่อผู้รับมอบอำนาจพร้อมผนึกอากรแสตมป์ 10 บาท) ยื่นขอจองชื่อ ต่อนายทะเบียน จำนวน 2 ฉบับ
               – ขอจองชื่อได้คราวละไม่เกิน 3 ชื่อโดยให้เรียงชื่อตามลำดับความต้องการก่อนหลัง เพราะ นายทะเบียนจะไม่พิจารณาชื่อลำดับถัดไปหากชื่อลำดับก่อนได้รับการอนุญาตให้ใช้แล้ว
               – การกรอกแบบจองชื่อนิติบุคคล ใช้พิมพ์ดีดหรือเขียนด้วยตัวบรรจง ก็ได้

3. ผู้ขอจองชื่อนิติบุคคล
      ผู้ที่ขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องมีความสัมพันธ์กับนิติบุคคลนั้นๆได้แก่ผู้เป็น หุ้นส่วน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท      

คำแนะนำ
            1. การขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องเป็นภาษาไทยและให้ระบุภาษาต่างประเทศเป็นอักษรโรมันด้วยทุกครั้ง
            2. ในกรณีตั้งใหม่ถ้าไม่ได้ระบุประเภทนิติบุคคลจะนำไปจดทะเบียนนิติบุคคลประเภท ใดหรือนำไปจดทะเบียน ที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทใดก็ได้
            3. แบบขอจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต

สถานที่ยื่นจดทะเบียนหรือจองชื่อนิติบุคคล

  1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นจดทะเบียนหรือจองชื่อนิติบุคคลต่อสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แห่งใดก็ได
    1. ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ นนทบุรี) โทร. 0 2547 5153-5
    2. สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (อาคาร ถ.มหาราช) โทร. 0 2622 0572-3
    3. สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (อาคาร ถ.พระราม 6) โทร. 0 2618 3345
    4. สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7268
    5. สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (อาคารยูไนเต็ดเซ็นเตอร์ ถ.สีลม) โทร. 0 2266 5853-4
    6. สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7255
    7. สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (อาคารโมเดิอร์นฟอร์ม ถ.ศรีนครินทร์) โทร. 0 2722-8366-7
    8. สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7253
  2. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ เพียงแห่งเดียว
 
เว็บไซต์จองชื่อนิติบุคคล: https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/home.xhtml
เว็บไซต์การจดทะเบียนการค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: http://www.dbd.go.th
 
 

. . .

*กรุณาติดต่อทางอีเมล์ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการจดจำ ข้อมูลลูกค้าจำนวนมากครับ !!
ติดต่อ Email: sango988989@gmail.com (ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง)
Tel: 098 289 3389 (จ.-ส. เวลา 9.00-17.00น.)
Website: www.โลโก้ฮวงจุ้ย.com
www.ออกแบบโลโก้.net
www.โลโก้ตรายาง.com
Power by Sango

8881688888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888

รับออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ฮวงจุ้ย, ออกแบบตรายางฮวงจุ้ย, โลโก้ฮวงจุ้ย
Email: sango988989@gmail.com
Copyright © 2008-2021 by โลโก้ฮวงจุ้ย.com & ออกแบบโลโก้.net & โลโก้ตรายาง.com (Switched from: ออกแบบโลโก้ฮวงจุ้ย.com & Sango.igetweb.com), All Rights Reserved.

การจดทะเบียนการค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Scroll to top